ใบสั่งซื้อ Purchase Order (PO)
ทำไมต้องมีใบสั่งซื้อ (PO)
- เป็นเอกสารให้คู่ค้าเพื่อยืนยันรายละเอียดการสั่งซื้อ เช่น เครดิต กำหนดส่งสินค้า เป็นการสั่งซื้อเข้า สาขาไหน หรือ งานไหน
- วางแผนงบประมาณในการซื้อสินค้า/บริการ
สิทธิ์การดำเนินการ
สร้าง ใบสั่งซื้อ
- เลือกเมนู สั่งซื้อ และ ซื้อ
- กดแท็บ 2. สั่งซื้อ
- กดปุ่ม สร้างใบสั่งซื้อ (PO)
- กรอกรายละเอียดต่างๆให้ครบ
- กด บันทึก
- เลือกใบขอซื้อ (PR) ที่ต้องการสร้าง PO
- กดปุ่มดำเนินการ '...' เลือก สร้างใบสั่งซื้อ (PO)
แก้ไข ใบสั่งซื้อ (PO)
- เลือกเมนู สั่งซื้อ และ ซื้อ
- กดแท็บ 2. สั่งซื้อ
- เลือกใบสั่งซื้อ (PO) ที่ต้องการแก้ไข
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก แก้ไข
- แก้ไขข้อมูลตามที่ต้องการ
- กด บันทึก
แก้ไขกำหนดส่ง ใบสั่งซื้อ (PO)
- เลือกเมนู สั่งซื้อ และ ซื้อ
- กดแท็บ 2. สั่งซื้อ
- ทำเครื่องหมาย ✓ หน้ารายการใบสั่งซื้อ (PO) ที่ต้องการแก้ไขกำหนดส่ง
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก เปลี่ยนกำหนดส่ง
- ระบุวันที่กำหนดส่งใหม่ที่ต้องการ
- กด ยืนยัน
แก้ไขข้อมูลคู่ค้า ใบสั่งซื้อ (PO)
- เลือกเมนู สั่งซื้อ และ ซื้อ
- กดแท็บ 2. สั่งซื้อ
- เลือกใบสั่งซื้อ (PO) ที่ต้องการแก้ไขข้อมูลคู่ค้า
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก แก้ไข
- กด ฝั่งขวาของปุ่มบันทึก เลือก แก้ไขข้อมูลคู่ค้า
ปิด/เปิด ใบสั่งซื้อ (PO) ทีละใบ
- เลือกเมนู สั่งซื้อ และ ซื้อ
- กดแท็บ 2. สั่งซื้อ
- เลือกใบสั่งซื้อ (PO) ที่ต้องการ ปิด หรือ เปิด
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก ปิด หรือ เปิด
ปิด/เปิด ใบสั่งซื้อ (PO) พร้อมกันหลายๆใบ
- เลือกเมนู สั่งซื้อ และ ซื้อ
- กดแท็บ 2. สั่งซื้อ
- ทำเครื่องหมาย ✓ หน้ารายการใบสั่งซื้อ (PO) ที่ต้องการ ปิด หรือ เปิด
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก ปิด หรือ เปิด
- ปิด ใช้ในกรณีไม่ต้องการใช้เอกสารแล้ว และเอกสารมีการอ้างอิงไปบางส่วน
- เปิด ใช้ในกรณีเอกสารถูกปิดไป แต่ต้องการกลับมาใช้เอกสารอีกครั้ง
- ยกเลิก ใช้ในกรณีไม่ต้องการใช้เอกสารแล้ว ใช้ในกรณีเอกสารยังไม่มีการอ้างอิง
ยกเลิก ใบสั่งซื้อ (PO) ทีละใบ
- เลือกเมนู สั่งซื้อ และ ซื้อ
- กดแท็บ 2. สั่งซื้อ
- เลือกใบสั่งซื้อ (PO) ที่ต้องการยกเลิก
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก ยกเลิก
ยกเลิก ใบสั่งซื้อ (PO) พร้อมกันหลายๆใบ
- เลือกเมนู สั่งซื้อ และ ซื้อ
- กดแท็บ 2. สั่งซื้อ
- ทำเครื่องหมาย ✓ หน้ารายการใบสั่งซื้อ (PO) ที่ต้องการยกเลิก
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก ยกเลิก
อีเมล ใบสั่งซื้อ (PO)
- เลือกเมนู สั่งซื้อ และ ซื้อ
- กดแท็บ 2. สั่งซื้อ
- เลือกใบสั่งซื้อ (PO) ที่ต้องการอีเมล
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก อีเมล
Workflow
ส่งอนุมัติ ใบสั่งซื้อ (PO)
- เลือกเมนู สั่งซื้อ และ ซื้อ
- กดแท็บ 2. สั่งซื้อ
- เลือกใบสั่งซื้อ (PO) ที่ต้องการส่งอนุมัติ
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก แก้ไข
- กด ฝั่งขวาของปุ่มบันทึก เลือก ส่งอนุมัติ
ถอนคำขออนุมัติ ใบสั่งซื้อ (PO)
- เลือกเมนู สั่งซื้อ และ ซื้อ
- กดแท็บ 2. สั่งซื้อ
- เลือกใบสั่งซื้อ (PO) ที่ต้องการถอยอนุมัติ
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก แก้ไข
- กด ฝั่งขวาของปุ่มบันทึก เลือก ถอยเอกสาร
อนุมัติผ่าน Dashboard
- ตรงแถบเมนูด้านบน เลือกเมนู ภารกิจ
- เลือกใบสั่งซื้อ (PO) ที่ต้องการอนุมัติ
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก อนุมัติ
อนุมัติพร้อมกันหลายๆใบ
- เลือกเมนู สั่งซื้อ และ ซื้อ
- กดแท็บ 2. สั่งซื้อ
- ทำเครื่องหมาย ✓ หน้ารายการใบสั่งซื้อ (PO) ที่ต้องการอนุมัติ
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก อนุมัติ
ปฏิเสธอนุมัติผ่าน Dashboard
- ตรงแถบเมนูด้านบน เลือกเมนู ภารกิจ
- เลือกใบสั่งซื้อ (PO) ที่ต้องการปฏิเสธการอนุมัติ
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก แก้ไข
- เลื่อนลงมาด้านล่างเอกสารตรง หมายเหตุ (ภายใน) ใส่รายละเอียดเพื่อระบุเหตุผลของการปฏิเสธการอนุมัติ
- กด ฝั่งขวาของปุ่มบันทึก เลือก ไม่อนุมัติ
ปฏิเสธอนุมัติพร้อมกันหลายๆใบ
- เลือกเมนู สั่งซื้อ และ ซื้อ
- กดแท็บ 2. สั่งซื้อ
- ทำเครื่องหมาย ✓ หน้ารายการใบสั่งซื้อ (PO) ที่ต้องการปฏิเสธการอนุมัติ
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก ไม่อนุมัติ
รายละเอียดในเอกสาร
หัวเอกสาร
- วันที่สั่งซื้อ ตั้งค่าเริ่มต้นเป็นวันนี้ ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนได้
- บริษัท/สาขา เลือกบริษัทและสาขาที่ต้องการออกเอกสาร
- เอกสารอ้างอิง ระบุ เลขที่ใบขอซื้อ PR (ถ้ามี) เมื่อใส่ข้อมูลจากใบ PR จะถูกสำเนามาอัตโนมัติ
- คู่ค้า ระบุชื่อคู่ค้า สามารถ สร้าง คู่ค้าได้หากต้องการ
- คำอธิบาย ระบุรายละเอียดของงาน เพื่อให้ง่ายต่อการกลับมาค้นหาเอกสารในอนาคต
- ที่อยู่ในการจัดส่ง เลือกที่อยู่ที่ต้องการแจ้งให้ทางคู่ค้าไปส่งสินค้า
- ชื่อผู้ติดต่อ - ฝ่าย ผู้ใช้สามารถ เลือกฝ่าย เพื่อแจ้งให้ทางคู่ค้าทราบได้ว่าควรติดต่อฝ่ายใด
- ชื่อผู้ติดต่อ - พนักงาน ระบุชื่อผู้ติดต่อ (พนักงาน) เพื่อแจ้งให้ทางคู่ค้าทราบได้ว่าควรติดต่อใคร
- ด่วน ให้ระบุสาเหตุที่ด่วน และกำหนดชำระเงิน
- แสดงอัตราแลกเปลี่ยน เลือกในกรณีเป็นการสั่งซื้อแบบนำเข้า
- สกุลเงิน สามารถเลือกได้ตามต้องการ อ้างอิงตั้งค่าสกุลเงิน
- อัตราแลกเปลี่ยน ถูกตั้งค่าเริ่มต้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ใช้งานระบบสามารถแก้ไขอัตราแลกเปลี่ยนได้ตามความเป็นจริง
- สกุลเงินเอกสาร เพื่อระบุว่าอยากพิมพ์เอกสารภายใต้สกุลเงินอะไร
- ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม เลือกในกรณีที่ใบเสนอราคาของคู่ค้าที่เราได้รับมา แต่ละรายการได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
- แบ่งงวดชำระ เลือกในกรณีที่ต้องมีการชำระเงินมัดจำ หรือแบ่งชำระเงินเป็นงวด เมื่อเลือก ตารางแบ่งงวดชำระจะแสดงขึ้นมาให้กรอกรายละเอียดเพิ่มเติม
ตารางรายการ
- รายการ กรอกรายละเอียดสินค้า/บริการ โดยมี 3 ประเภทรายการ
- รหัสสินค้า/บริการ
- รายการทั่วไป (ไม่อ้างอิงรหัสสินค้า/บริการ)
- คำอธิบาย โดยพิมพ์ ** นำหน้าคำอธิบาย
- CC Cost Center คือศูนย์ต้นทุน ระบุอักษรย่อของบริษัท, สาขา, แผนก, ใบสั่งขาย, ยูนิต (อสังหาริมทรัพย์) ที่เป็นเจ้าของต้นทุน
- กำหนดส่ง กำหนดส่งสินค้า/บริการ โดยการระบุวันที่ที่ใกล้เคียงกับความจริงจะช่วยให้ระบบวางแผนการเงินได้อย่างแม่นยำ อ้างอิง แก้ไขกำหนดส่ง ใบสั่งซื้อ (PO)
- ปริมาณ ระบุจำนวน/ปริมาณของรายการที่ทำการสั่งซื้อ
- หน่วย เลือกหน่วยที่ใช้สำหรับรายการ
- ราคา ระบุราคาต่อหน่วยของรายการ
- ส่วนลด ระบุราคาส่วนลดของรายการ (ถ้ามี) สามารถใส่เป็น ส่วนลด ตัวเลข หรือ % เช่น กรณีสินค้าราคา 100 บาท เมื่อใส่ 10%,20%,30% จะกลายเป็นยอด 50.40 บาท
- GL ผังบัญชี ในกรณีที่มีการระบุรหัสสินค้า/บริการ ผังบัญชีจะแสดงอัตโนมัติจากที่ผูกกับรหัสสินค้าไว้
- VAT เลือก อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีสินค้า/บริการมีภาษีมูลค่าเพิ่ม
- WHT ทำเครื่องหมาย ✓ กรณีจัดจ้างบริการเพราะต้องหัก ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- Ret. ทำเครื่องหมาย ✓ หากมีการหักเงินประกันผลงาน
- ทรัพย์สิน ทำเครื่องหมาย ✓ หากเป็นการสั่งซื้อทรัพย์สิน
ตารางแบ่งงวดชำระ
- ชำระเงิน รายละเอียดการแบ่งชำระเงิน เช่น งวดที่ 1: มัดจำ , งวดที่ 2: ก่อนส่งสินค้า
- เอกสาร เลขที่เอกสารอ้างอิงจะแสดงขึ้นมาโดยอัตโนมัติ
- วันที่ชำระ กำหนดชำระเงิน
- เงินมัดจำ เลือก ใช่ กรณีงวดดังกล่าวเป็นเงินมัดจำ (ชำระโดยยังไม่ได้รับสินค้า/บริการ) เนื่องจากกระทบกับการบันทึกบัญชี , เลือก ไม่ใช่ กรณีงวดดังกล่าวไม่ใช่เงินมัดจำ
- % สัดส่วนของการชำระเงินในยอดนั้นๆ
- ยอดเงิน ยอดการชำระเงิน
ตารางภาษี หัก ณ ที่จ่าย
- ประเภท เลือกประเภทการหัก ณ ที่จ่าย
- คำอธิบาย ระบุคำอธิบาย
- มูลค่าบริการ ระบุมูลค่าบริการก่อน VAT
- อัตรา ระบุอัตราตามมาตรฐานกรมสรรพากร
- WHT มูลค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- ภ.ง.ด. เลือกประเภทภาษีเงินได้
- ผู้จ่ายชำระภาษี เลือกผู้จ่ายชำระภาษี
ตารางรับประกันผลงาน
- ข้อมูลการรับประกัน ระบุรายละเอียด
- ระยะเวลา ระบุระยะเวลาการรับประกัน
- ยูนิต เลือก วัน, สัปดาห์, เดือน หรือ ปี
- ตั้งแต่ ระบุวันเริ่มนับประกัน
- ยอดเงินประกันผลงาน จะถูกคำนวณอัตโนมัติโดย เป็นยอดก่อน VAT x % อ้างอิงตามที่ระบุในคู่ค้า
- ครบกำหนดประกันผลงาน วันที่กำหนดชำระคืน ยอดเงินประกันผลงาน
ตารางทรัพย์สิน
- รูป แนบรูปของทรัพย์สินที่ต้องการให้แสดงในทะเบียนทรัพย์สิน
- ทรัพย์สิน อ้างอิงตามรายละเอียดรายการ
- ผู้ถือครองทรัพย์สิน ระบุชื่อผู้ดูแลทรัพย์สิน เมื่อพนักงานลาออก หรือย้ายฝ่าย สามารถเปลี่ยนชื่อผู้ถือครองทรัพย์สินตามความเหมาะสมได้
- คำนวณค่าเสื่อม ทำเครื่องหมาย ✓ ในกรณีทรัพย์สินมีมูลค่าสูงเพียงพอที่จะต้องคำนวณค่าเสื่อม
- ประเภททรัพย์สิน เลือกประเภททรัพย์สิน ซึ่งจะกำหนดถึง
- ผังบัญชีทรัพย์สิน
- การคิดค่าเสื่อมราคา
- ผังบัญชีค่าเสื่อมสะสม
- บัญชีค่าเสื่อมสะสม
- บัญชีค่าเสื่อม
- วิธีคำนวณค่าเสื่อม
- อายุการใช้งาน
อ้างอิง ตั้งค่าประเภททรัพย์สิน
- วิธีคำนวณค่าเสื่อม มี 3 วิธี
- เส้นตรง
- ยอดลดลงทวีคูณ
- ผลรวมจำนวนปีอายุการใช้งาน (ปี)
- อายุการใช้งาน [ปี] กำหนดว่าสินทรัพย์นั้นๆจะถูกคำนวณค่าเสื่อมกี่ปี
- ราคาซาก มูลค่าเมื่อขายทรัพย์สินเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน - ค่าใช้จ่ายในการขายทรัพย์สินนั้นๆ
- ค่าขนส่ง/ติดตั้ง ค่าใช้จ่ายในการนำทรัพย์สินมาติดตั้งเพื่อใช้งาน
ท้ายเอกสาร
- หมายเหตุ [คู่ค้า] คำอธิบาย หรือข้อมูลเพิ่มเติมที่ต้องการแจ้งให้คู่ค้าทราบ โดยจะปรากฏอยู่บนแบบฟอร์มใบสั่งซื้อ
- หมายเหตุ [ภายใน] คำอธิบาย หรือข้อมูลเพิ่มเติม โดยจะไม่ปรากฏอยู่บนใบสั่งซื้อที่พิมพ์ออกมา
- เอกสารแนบ แนบเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบเสนอราคา และ สัญญา
อัปเดตเมื่อ: 26/11/2021