สินค้า Goods
ทำไมต้องมีข้อมูลสินค้า
- เพื่อเป็นฐานข้อมูลของสินค้า และสามารถตรวจสอบสินค้าในคลังได้
สิทธิ์การดำเนินการ
สร้าง สินค้า
- เลือกเมนู คลังสินค้า และ สินค้า
- กดแท็บ 1. สินค้า
- กดปุ่ม สร้าง
- กรอกรายละเอียดต่างๆให้ครบ
- กด บันทึก
แก้ไข สินค้า
- เลือกเมนู คลังสินค้า และ สินค้า
- กดแท็บ 1. สินค้า
- เลือกสินค้า ที่ต้องการแก้ไข
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก แก้ไข
- แก้ไขข้อมูลตามที่ต้องการ
- กด บันทึก
ค้นหา สินค้า
- เลือกเมนู คลังสินค้า และ สินค้า
- กดแท็บ 1. สินค้า
- กดปุ่ม v ที่ช่องค้นหา เพื่อกรอกข้อมูล ค้นหาสินค้าที่ต้องการดูได้
- กรอกรายละเอียดต่างๆ
- ประเภทสินค้า ระบุประเภทของสินค้าที่ต้องการค้นหา สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ประเภท
- รหัส ระบุช่วงรหัสสินค้าที่ต้องการค้นหา
- ประเภท เลือกประเภทสินค้า หรือ บริการ ที่ต้องการค้นหา
- ราคาขาย ระบุช่วงราคาของราคาขาย ที่ต้องการค้นหา
- เปิดขาย เลือกใช่ หากต้องการดูสินค้าที่เปิดขาย
- กด ค้นหา
รายละเอียดในเอกสาร
ชื่อสินค้า
- ประเภทสินค้า ระบุ ประเภทของสินค้าที่ต้องการสร้าง
- รหัส ระบุ รหัสสินค้า
- ชื่อ ระบุ ชื่อของสินค้า
- คำอธิบาย ระบุ คำอธิบายของสินค้า
- ประเภท เลือกประเภทของสินค้า ได้แก่ สินค้า, บริการ, สินค้าจัดเป็นชุด
- ภาพสินค้า อัพโหลดภาพของสินค้า (ถ้ามี)
- ใช้ระบบคลังสินค้า เลือก กรณีประเภท คือ สินค้า เพื่อระบุวิธีคำนวณต้นทุนสินค้า
- สำหรับซื้อ เลือก กรณีต้องการตั้งค่าGL สำหรับซื้อ
- เปิดขาย เลือก กรณีต้องการตั้งค่าGL สำหรับขาย
- ตั้งค่า SKU เลือก กรณีต้องการตั้งค่ารหัสสินค้า SKU
- อายุการใช้งาน เลือก กรณีสินค้ามีอายุการใช้งาน ระบุ -ปี -เดือน -วัน -ช.ม.
- บาร์โค้ด ระบุรหัสของบาร์โค้ด ตามที่ตั้งค่าสินค้า
- วิธีคำนวณต้นทุนสินค้า ระบุ วิธีคำนวณต้นทุนสินค้า
การตั้งค่า SKU
ตั้งค่า SKU (Stock Keeping Unit) คือการแบ่งย่อยสินค้าด้วย ขนาด, สี, น้ำหนัก, รสชาต, ยี่ห้อ เป็นต้นจะใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันที่มี สี ขนาด รูปแบบ ฯลฯ แตกต่างกัน หากเลือกให้ระบบช่วยกำหนดรหัสสินค้าให้เป็นระบบ SKU ปัญหาการเพิ่มลำดับถัดไปของรหัสสินค้าจะหมดไป
ในบางธุรกิจ สามารถใช้ SKU ในการบริหารล็อตการผลิตเพื่อช่วยในการต่องานของลูกค้าได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น ธุรกิจทอผ้า ธุรกิจผลิตกระเบื้อง ที่แต่ละล็อตอาจมีเฉดสีที่ต่างกันเล็กน้อย
วิธีการคำนวนต้นทุนสินค้า
- เข้าก่อน-ออกก่อน (First In First Out: FIFO)
เป็นรูปแบบการใช้สมมติฐานทางต้นทุน (Cost Assumption) รูปแบบหนึ่ง โดยใช้แนวคิดว่าสินค้าที่เข้าคลังสินค้ามาก่อนแล้วต้องรีบหมุนเวียนสินค้า ทำการขายหรือถ่ายสินค้าออกไปก่อน เพื่อลดความเสื่อมของสินค้าจนขายสินค้านั้นไม่ได้ โดยไม่สำคัญว่าสินค้าจริงจะถูกนำออกตามลำดับนั้นหรือไม่ จากนิยามดังกล่าว การคำนวณจากราคาทุนของสินค้าที่มีไว้เพื่อขาย มูลค่าของสินค้าที่ถูกจัดซื้อก่อน การใช้วิธีแบบนี้จะทำให้การขายในปัจจุบันนั้นถูกจับคู่กับราคาต้นทุนในอดีต ซึ่งหากใช้กับสินค้าที่มีแนวโน้มราคาแน่นอน จะทำให้งบการเงินสะท้อนกำไรขั้นต้นที่ไม่ถูกต้องนัก
- ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Average Cost)
คือ วิธีการคำนวณที่ต้นทุนสินค้าจะถูกนำมาเฉลี่ยและแสดงต้นทุนโดยรวมของสินค้าที่ผลิตขึ้นได้ ข้อจำกัดของการใช้วิธีถัวเฉลี่ยหากมีการใช้วัตถุดิบมีมูลค่าสูงหรือมีลักษณะเฉพาะวิธีนี้จะไม่ค่อยเหมาะสม
- เฉพาะเจาะจง (Specific Identification)
วิธีนี้จะสอดคล้องกับระบบการบันทึกบัญชีแบบต่อเนื่อง เพราะสินค้าแต่ละชิ้นจะมีมูลค่าเป็นของตัวเอง เมื่อมีรายการซื้อหรือรายการขายสินค้าจะบันทึกจำนวนของสินค้าชิ้นนั้น ดังนั้นวิธีนี้จึงเหมาะกับสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะ ราคาสูง ไม่สามารถสับเปลี่ยนได้ ต้นทุนแต่ละชิ้นจะแตกต่างกัน และจำนวนครั้งของการขายมีจำนวนไม่บ่อยมากนัก เช่น เครื่องเพชร เป็นต้น
ตัวแปร SKU
- คำนำหน้า ระบุ ประเภทของสินค้าที่ต้องการจำแนก เช่น ไซร์ / สี
- Input Type เลือก กรณีสินค้า มีตัวเลือก เช่น ไซร์ / สี พิมพ์ค่า หากต้องการ พิมพ์ข้อความ
- ตัวเลือก กรณี Input Type ระบุ เลือก รายการตัวเลือกให้ ระบุตัวเลือก เช่น Black, Brown ใช้ลูกน้ำเป็นตัวขั้นข้อมูล
SKU
- SKU No. ระบุ รหัสสินค้า หากเลือกใช้รูปแบบรหัสของ Nested ระบบจะสร้างรหัสให้อัตโนมัติ (ตั้งค่าสินค้า)
- ชื่อ SKU ค่าเริ่มต้นตามชื่อสินค้า ลูกค้าสามารถแก้ไขเพิ่มได้
- หัวข้อคอลัมน์ขึ้นอยู่กับคำนำหน้า [ตัวแปรSKU] กรณีเป็นตัวเลือก ระบบจะแสดงรายการดรอปดาวน์ กรณีเลือก พิมพ์ค่า จำเป็นต้องพิมพ์ข้อความเอง
สำหรับซื้อ
- GL สำหรับซื้อ ระบุ รหัสบัญชี สำหรับซื้อ สามารถสร้าง ผังบัญชีได้หากต้องการ
เปิดขาย
- GL สำหรับขาย ระบุ รหัสบัญชี สำหรับขาย สามารถสร้าง ผังบัญชีได้หากต้องการ
หน่วยนับ
- ยูนิต ระบุหน่วยนับของสินค้า
- ปริมาณ แสดงค่าเริ่มต้น 1 เสมอ
- ปริมาณ แสดงค่าเริ่มต้น 1
ใช้สำหรับเทียบบัญญัติไตรยาง ของสินค้า เช่น บรรทัดที่ 1 ; ตัว 1 = 1 ตัว บรรทัดที่ 2 ; แพ็ค 1 = 3 ตัว
- คำอธิบาย ระบุคำอธิบาย ถ้ามี
- ค่าเริ่มต้น กรุณาระบุ ค่าเริ่มต้นเพียงหน่วยนับแรกรายการเดียว
การกำหนดวิธีการแปลงหน่วยนับ
หน่วยนับของสินค้าแบบเดียวกันอาจมีได้มากกว่าหนึ่งหน่วยนับ เช่น กรณีกิจการซื้อสินค้ามาเป็นหน่วยใหญ่แล้วนำมาขายเป็นหน่วยย่อย กรณีเช่นนี้กิจการต้องระบุหน่วยนับทั้งหมดของสินค้าให้ในระบบ เพื่อให้ระบบสามารถคำนวณราคาได้ เมื่อเลือกขายสินค้าเป็นหน่วยนับที่ต่างจากตอนซื้อ
อื่น
- ระงับการใช้งาน ในกรณีที่หน่วยถูกเปลี่ยนเป็น 1 แพ็ค ระบบจะตัด stock ออกให้ 3 ตัว โดยอัตโนมัติ
- หมายเหตุ ระบุหมายเหตุทั่วไป (ถ้ามี)
อัปเดตเมื่อ: 20/10/2023