ใบสั่งขาย Sales Order (SO)
ทำไมต้องมีใบสั่งขาย (SO)
- เป็นเอกสารภายใน ส่วนมากจะออกโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย เพื่อบอกว่าลูกค้าได้ตัดสินใจซื้อสินค้าตามเอกสารใบเสนอราคาที่ได้แจ้งไว้ กระบวนการนี้เป็นสัญญาณให้แต่ละหน่วยงานเตรียมสินค้าและข้อมูลต่างๆ เช่น การจัดซื้อวัตถุดิบ การสั่งซื้อสินค้า เป็นต้น
- ใช้ในการควบคุมการสั่งขายภายในบริษัทว่ามีความถูกต้อง ตั้งแต่แรกให้ชัดเจน ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาที่จะตามมาในขั้นตอนถัดไป เช่น หากการขายสินค้าในครั้งนี้ มีการตกลงแบ่งรับชำระเป็น 2 งวด ควรเลือก “แบ่งชำระเงิน” ในเอกสาร SO จากนั้นเพิ่มวันที่ที่จะได้รับเงิน และ จำนวนเงิน งวดที่ 1 งวดที่ 2 หรือ 3 ให้ถูกต้องชัดเจนตามข้อตกลง
- วางแผนกระแสเงินสดในการขายสินค้า/บริการ
- สามารถนำเลขที่เอกสาร SO ไปจับคู่กับเอกสารฝั่งซื้อ เพื่อถึงต้นทุนรวมของงานนั้นๆ
สิทธิ์การดำเนินการ
สร้าง ใบสั่งขาย (SO)
- เลือกเมนู ขาย และ ขาย
- กดแท็บ 2. สั่งขาย
- กดปุ่ม สร้างใบสั่งขาย (SO)
- กรอกรายละเอียดต่างๆให้ครบ
- กด บันทึก
- เลือกใบเสนอราคา (QT) ที่ต้องการสร้าง SO
- กดปุ่มดำเนินการ '...' เลือก สร้างใบสั่งขาย (SO)
แก้ไข ใบสั่งขาย (SO)
- เลือกเมนู ขาย และ ขาย
- กดแท็บ 2. สั่งขาย
- เลือกใบสั่งขาย (SO) ที่ต้องการแก้ไข
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก แก้ไข
- แก้ไขข้อมูลตามที่ต้องการ
- กด บันทึก
แก้ไขข้อมูลลูกค้า ใบสั่งขาย (SO)
- เลือกเมนู ขาย และ ขาย
- กดแท็บ 2. สั่งขาย
- เลือกใบสั่งขาย (SO) ที่ต้องการแก้ไขข้อมูลลูกค้า
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก แก้ไข
- กด ฝั่งขวาของปุ่มบันทึก เลือก แก้ไขข้อมูลลูกค้า
ดำเนินการครบแล้ว ใบสั่งขาย (SO)
- เลือกเมนู ขาย และ ขาย
- กดแท็บ 2. สั่งขาย
- เลือกใบสั่งขาย (SO) ที่ต้องการแก้ไข
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก แก้ไข
- กด ฝั่งขวาของปุ่มบันทึก เลือก ดำเนินการครบแล้ว
ปิด/เปิด ใบสั่งขาย (SO)
- เลือกเมนู ขาย และ ขาย
- กดแท็บ 2. สั่งขาย
- เลือกใบสั่งขาย (SO) ที่ต้องการ ปิด หรือ เปิด
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก แก้ไข
- กด ฝั่งขวาของปุ่มบันทึก เลือก ปิด หรือ เปิด
ยกเลิก ใบสั่งขาย (SO)
- เลือกเมนู ขาย และ ขาย
- กดแท็บ 2. สั่งขาย
- เลือกใบสั่งขาย (SO) ที่ต้องการ ยกเลิก
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก แก้ไข
- กด ฝั่งขวาของปุ่มบันทึก เลือก ยกเลิก
- ปิด ใช้ในกรณีไม่ต้องการใช้เอกสารแล้ว และเอกสารมีการอ้างอิงไปบางส่วน
- เปิด ใช้ในกรณีเอกสารถูกปิดไป แต่ต้องการกลับมาใช้เอกสารอีกครั้ง
- ยกเลิก ใช้ในกรณีไม่ต้องการใช้เอกสารแล้ว ใช้ในกรณีเอกสารยังไม่มีการอ้างอิง
พิมพ์ ใบสั่งขาย (SO)
- เลือกเมนู ขาย และ ขาย
- กดแท็บ 2. สั่งขาย
- เลือก ใบสั่งขาย (SO) ที่ต้องการพิมพ์
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก พิมพ์
รายละเอียดในเอกสาร
หัวเอกสาร
- วันที่ ตั้งค่าเริ่มต้นเป็นวันนี้ ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนได้
- บริษัท/สาขา เลือกบริษัทและสาขาที่ต้องการออกใบสั่ง
- เอกสารอ้างอิง ระบุ เลขที่ใบเสนอราคา QT (ถ้ามี) เมื่อใส่ข้อมูลจากใบ QT จะถูกสำเนามาอัตโนมัติ
- ลูกค้า ระบุชื่อลูกค้า จำเป็นต้อง สร้างลูกค้าก่อน ก่อนสร้างเอกสารใบสั่งขาย
- คำอธิบาย ระบุรายละเอียดของงาน เพื่อให้ง่ายต่อการกลับมาค้นหาเอกสารในอนาคต
- ที่อยู่ ที่อยู่จะแสดงค่าเริ่มต้นตามที่กรอกข้อมูลในชื่อลูกค้า ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนได้
- ชื่อผู้ติดต่อ-เบอร์โทร ชื่อผู้ติดต่อจะแสดงค่าเริ่มต้นตามที่กรอกข้อมูลในชื่อลูกค้า
- พนักงานขาย ระบุชื่อของพนักงานขาย จำเป็นต้องเพิ่มชื่อบุคลากรก่อน
- ด่วน ให้ระบุสาเหตุที่ด่วน และกำหนดชำระเงิน
- แสดงอัตราแลกเปลี่ยน เลือกในกรณีเป็นการสั่งซื้อแบบนำเข้า
- สกุลเงิน สามารถเลือกได้ตามต้องการ อ้างอิงตั้งค่าสกุลเงิน
- อัตราแลกเปลี่ยน ถูกตั้งค่าเริ่มต้นจากธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้ใช้งานระบบสามารถแก้ไขอัตราแลกเปลี่ยนได้ตามความเป็นจริง
- สกุลเงินเอกสาร เพื่อระบุว่าอยากพิมพ์เอกสารภายใต้สกุลเงินอะไร
- ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม เลือกในกรณีที่ใบเสนอราคาของคู่ค้าที่เราได้รับมา แต่ละรายการได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว
- แบ่งงวดชำระ เลือกในกรณีที่ต้องมีการชำระเงินมัดจำ หรือแบ่งชำระเงินเป็นงวด เมื่อเลือกตารางแบ่งงวดชำระจะแสดงขึ้นมาให้กรอกรายละเอียดเพิ่มเติม
ตารางรายการ
- รายการ กรอกรายละเอียดสินค้า/บริการ โดยมี 3 ประเภทรายการ
- รหัสสินค้า/บริการ
- รายการทั่วไป (ไม่อ้างอิงรหัสสินค้า/บริการ)
- คำอธิบาย โดยพิมพ์ ** นำหน้าคำอธิบาย
- กำหนดส่ง กำหนดส่งสินค้า/บริการ โดยการระบุวันที่ที่ใกล้เคียงกับความจริงจะช่วยให้ระบบวางแผนการเงินได้อย่างแม่นยำ
- ปริมาณ ระบุจำนวน/ปริมาณของรายการที่ทำการขาย
- หน่วย เลือกหน่วยที่ใช้สำหรับรายการ
- ราคา ระบุราคาต่อหน่วยของรายการที่ทำการขาย
- ส่วนลด ระบุราคาส่วนลดของรายการ (ถ้ามี) สามารถใส่เป็น ส่วนลด ตัวเลข หรือ % เช่น กรณีสินค้าราคา 100 บาท เมื่อใส่ 10%,20%,30% จะกลายเป็นยอด 50.40 บาท
- GL ผังบัญชี ในกรณีที่มีการระบุรหัสสินค้า/บริหาร ผังบัญชีจะแสดงอัตโนมัติจากที่ผูกกับรหัสสินค้าไว้
- VAT เลือก อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีสินค้า/บริการมีภาษีมูลค่าเพิ่ม
- WHT ทำเครื่องหมาย ✓ กรณีจัดจ้างบริการเพราะต้องหัก ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- Ret. ทำเครื่องหมาย ✓ หากมีการหักเงินประกันผลงาน
ตารางแบ่งงวดชำระ
- ชำระเงิน รายละเอียดการแบ่งชำระเงิน เช่น งวดที่ 1 : มัดจำ งวดที่ 2 : ส่งสินค้า
- เอกสาร เลขที่เอกสารอ้างอิงจะแสดงขึ้นมาโดยอัตโนมัติ
- วันที่ชำระ กำหนดชำระเงิน
- เงินมัดจำ เลือก ใช่ กรณีงวดดังกล่าวเป็นเงินมัดจำ (ชำระโดยยังไม่ได้รับสินค้า/บริการ) เนื่องจากกระทบกับการบันทึกบัญชี เลือก ไม่ใช่ กรณีงวดดังกล่าวไม่ใช่เงินมัดจำ
- % สัดส่วนของการชำระเงินในยอดนั้นๆ
- ยอดเงิน ยอดการชำระเงิน
ตารางภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- ประเภท เลือกประเภทการหัก ณ ที่จ่าย
- คำอธิบาย ระบุคำอธิบาย
- มูลค่าบริการ ระบุมูลค่าบริการก่อน VAT
- อัตรา ระบุอัตราตามมาตรฐานกรมสรรพากร
- WHT มูลค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- ภ.ง.ด. เลือกประเภทภาษีเงินได้
- ผู้จ่ายชำระภาษี เลือกผู้จ่ายชำระภาษี
ตารางรับประกันผลงาน
- ข้อมูลการรับประกัน ระบุรายละเอียด
- ระยะเวลา ระบุระยะเวลาการรับประกัน
- ยูนิต เลือก วัน, สัปดาห์, เดือน หรือ ปี
- ตั้งแต่ ระบุวันเริ่มนับประกัน
- ยอดเงินประกันผลงาน จะถูกคำนวณอัตโนมัติโดย เป็นยอดก่อน VAT x % อ้างอิงตามที่ระบุในคู่ค้า
- ครบกำหนดประกันผลงาน วันที่กำหนดชำระคืน ยอดเงินประกันผลงาน
ท้ายเอกสาร
- หมายเหตุ [ลูกค้า] คำอธิบาย หรือข้อมูลเพิ่มเติมที่ต้องการแจ้งให้ลูกค้าทราบ โดยจะปรากฏอยู่บนใบสั่งขายที่พิมพ์ออกมา
- หมายเหตุ [ภายใน] คำอธิบาย หรือข้อมูลเพิ่มเติม โดยจะไม่ปรากฏอยู่บนใบสั่งซื้อที่พิมพ์ออกมา
- เอกสารแนบ แนบเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบสั่งซื้อ PO จากลูกค้า และ สัญญา
การเชื่อมโยง
เอกสารในขั้นตอนนี้จะเชื่อมโยงต่อไปยัง
- Dashboard : กระแสเงินสด
อัปเดตเมื่อ: 27/11/2021