ใบสำคัญจ่าย Payment Voucher (PV)
ทำไมต้องมีใบสำคัญจ่าย (PV)
- เป็นการทำเอกสารเพื่อชำระเงิน โดยอ้างอิง GR AP ACN
- เพื่อเป็นหลักฐานสำหรับยืนยันการชำระเงิน
- วางแผนกระแสเงินสด สำหรับค่าใช้จ่าย
สิทธิ์การดำเนินการ
สร้าง ใบสำคัญจ่าย (PV)
- เลือกเมนู สั่งซื้อ และ ซื้อ
- กดแท็บ 4. ชำระเงิน
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก สร้างใบสำคัญจ่าย (PV)
- กรอกรายละเอียดต่างๆให้ครบ
- กด บันทึก
- เลือกใบรับสินค้า/บริการ (GR) หรือ ใบเพิ่มหนี้/ใบตั้งหนี้ Accounts Payable (AP) ที่ต้องการสร้าง PV
- กดปุ่มดำเนินการ '...' เลือก สร้างใบสำคัญจ่าย (PV)
แก้ไข ใบสำคัญจ่าย (PV)
- เลือกเมนู สั่งซื้อ และ ซื้อ
- กดแท็บ 4. ชำระเงิน
- เลือกใบสำคัญจ่าย (PV) ที่ต้องการแก้ไข
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก แก้ไข
- แก้ไขข้อมูลตามที่ต้องการ
- กด บันทึก
แก้ไขการลงบัญชี ใบสำคัญจ่าย (PV)
- เลือกเมนู สั่งซื้อ และ ซื้อ
- กดแท็บ 4. ชำระเงิน
- ใบสำคัญจ่าย (PV) ที่ต้องการแก้ไขการลงบัญชี
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก แก้ไข
- แก้ไขข้อมูลตามที่ต้องการ
- กด บันทึก
ยกเลิก ใบสำคัญจ่าย (PV)
- เลือกเมนู สั่งซื้อ และ ซื้อ
- กดแท็บ 4. ชำระเงิน
- เลือกใบสำคัญจ่าย (PV) ที่ต้องการยกเลิก
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก แก้ไข
- กด ฝั่งขวาของปุ่มบันทึก เลือก ยกเลิก
พิมพ์ ใบสำคัญจ่าย (PV)
- เลือกเมนู สั่งซื้อ และ ซื้อ
- กดแท็บ 4. ชำระเงิน
- เลือกใบสำคัญจ่าย (PV) ที่ต้องการพิมพ์
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก พิมพ์
รายละเอียดในเอกสาร
หัวเอกสาร
- วันที่เอกสาร ตั้งค่าเริ่มต้นเป็นวันนี้ ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนได้
- บริษัท/สาขา เลือกบริษัทและสาขาที่ต้องการออกเอกสาร
- แสดงทั้งหมด ทำเครื่องหมาย ✓ เมื่อต้องการดึงเอกสารทั้งหมดที่ค้างชำระมาแสดงบนใบสำคัญจ่าย (PV)
- คู่ค้า ระบุชื่อคู่ค้า ที่ต้องการทำเอกสารชำระเงิน
- คำอธิบาย ระบุรายละเอียดของงาน เพื่อให้ง่ายต่อการกลับมาค้นหาเอกสารในอนาคต
- แสดงอัตราแลกเปลี่ยน เลือกเมื่อซื้อสินค้านำเข้า เพื่อแสดงอัตราแลกเปลี่ยน
ตารางเอกสาร
- เลขที่เอกสาร ระบุเลขที่เอกสารที่ต้องการชำระเงิน
- ใบรับสินค้า/บริการ (GR)
- ใบลดหนี้ซื้อ (ACN)
- ใบเพิ่มหนี้/ใบตั้งหนี้ (AP)
- ครบกำหนด วันที่ครบกำหนดชำระของเอกสารนั้นๆ โดยคำนวณจาก วันที่รับสินค้า/บริการ + เครดิต (วัน) ของคู่ค้า + รอบชำระของบริษัท
- รวมสุทธิ ยอดที่คงค้างชำระยกมา
- ยอดค้างชำระ ยอดค้างชำระในรอบนี้
- ชำระเงิน ยอดที่ต้องการชำระเงิน
- WHT ทำเครื่องหมาย ✓ หากมีการหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- Ret. ยอดเงินประกันผลงาน
ตารางหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- ประเภท เลือกประเภทการหัก ณ ที่จ่าย
- คำอธิบาย ระบุคำอธิบาย
- มูลค่าบริการ ระบุมูลค่าบริการก่อน VAT
- อัตรา ระบุอัตราตามมาตรฐานกรมสรรพากร
- WHT มูลค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- ภ.ง.ด. เลือกประเภทภาษีเงินได้
- ผู้จ่ายชำระภาษี เลือกผู้จ่ายชำระภาษี
ตารางภาษีมูลค่าเพิ่ม
- คู่ค้า ชื่อบริษัทผู้ออกใบกำกับภาษี
- เลขใบกำกับภาษี อ้างอิงตามเลขที่ใบกำกับภาษีที่ได้รับ กรณีที่กรอกเลขที่ใบกำกับภาษีของคู่ค้าเดียวกันซ้ำ ระบบจะไม่ให้ทำการบันทึก
- วันที่ใบกำกับ วันที่อ้างอิงตามใบกำกับภาษีที่ได้รับ
- เดือนยื่นภาษี เดือนที่คาดว่าจะยื่นภาษีซื้อ
- มูลค่าคำนวณภาษี มูลค่าสินค้า/บริการที่ใช้คำนวณภาษี
- อัตรา อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
- VAT มูลค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม
- หมายเหตุ
ตารางรับประกันผลงาน
- ข้อมูลการรับประกัน ระบุรายละเอียด
- ระยะเวลา ระบุระยะเวลาการรับประกัน
- ยูนิต เลือก วัน, สัปดาห์, เดือน หรือ ปี
- ตั้งแต่ ระบุวันเริ่มนับประกัน
- ยอดเงินประกันผลงาน จะถูกคำนวณอัตโนมัติโดย เป็นยอดก่อน VAT x % อ้างอิงตามที่ระบุในคู่ค้า
- ครบกำหนดประกันผลงาน วันที่กำหนดชำระคืน ยอดเงินประกันผลงาน
ตารางชำระเงิน
- วันที่ Statement วันที่ตัดชำระเงินออกจากบัญชีธนาคาร
- ชำระโดย เลขที่บัญชีธนาคาร
- เลขที่เช็ค ระบุเลขที่เช็ค ในกรณีชำระเงินด้วยเช็ค
- ยอดเช็ค จำนวนเงินบนเช็ค
- ยอดคงเหลือ จำนวนเงินคงเหลือในเช็ค
- วันที่เช็ค วันที่บนเช็ค
- หมายเหตุ
- ค่าธรรมเนียมธนาคาร ระบุค่าธรรมเนียมธนาคาร (ถ้ามี)
- รวม ยอดชำระเงินจากบัญชีธนาคาร
ตารางบันทึกบัญชี GL
- รหัสบัญชี ผังบัญชีที่ถูกผูกกับรหัสสินค้า และคู่ค้าที่เลือก
- เดบิต ยอดฝั่งเดบิต
- เครดิต ยอดฝั่งเครดิต
- CC Cost Center
- หมายเหตุ
ท้ายเอกสาร
- หมายเหตุภายใน คำอธิบาย หรือข้อมูลเพิ่มเติม
- เอกสารแนบ แนบเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบ Payment Advice จากธนาคาร และ ใบเสร็จรับเงินจากคู่ค้า
การเชื่อมโยง
เอกสารในขั้นตอนนี้จะเชื่อมโยงต่อไปยัง
- Dashboard : กระแสเงินสด
- งบทดลอง
- สมุดรายวันจ่าย
- รายงานภาษีซื้อ
- รายงานหัก ณ ที่จ่าย
- งบพิสูจน์ยอดเงินฝาก
อัปเดตเมื่อ: 07/01/2025