สินค้า Goods
ทำไมต้องมีข้อมูลสินค้า
เพื่อเป็นฐานข้อมูลของสินค้า และสามารถตรวจสอบสินค้าในคลังได้
สิทธิ์การดำเนินการ
สร้าง สินค้า
เลือกเมนู คลังสินค้า และ สินค้า
กดแท็บ 1. สินค้า
กดปุ่ม สร้าง
กรอกรายละเอียดต่างๆให้ครบ
กด บันทึก
แก้ไข สินค้า
เลือกเมนู คลังสินค้า และ สินค้า
กดแท็บ 1. สินค้า
เลือกสินค้า ที่ต้องการแก้ไข
กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก แก้ไข
แก้ไขข้อมูลตามที่ต้องการ
กด บันทึก
ค้นหา สินค้า
เลือกเมนู คลังสินค้า และ สินค้า
กดแท็บ 1. สินค้า
กดปุ่ม v ที่ช่องค้นหา เพื่อกรอกข้อมูล ค้นหาสินค้าที่ต้องการดูได้
กรอกรายละเอียดต่างๆ
ประเภทสินค้า ระบุประเภทของสินค้าที่ต้องการค้นหา สามารถเลือกได้มากกว่า 1 ประเภท
รหัส ระบุช่วงรหัสสินค้าที่ต้องการค้นหา
ประเภท เลือกประเภทสินค้า หรือ บริการ ที่ต้องการค้นหา
ราคาขาย ระบุช่วงราคาของราคาขาย ที่ต้องการค้นหา
เปิดขาย เลือกใช่ หากต้องการดูสินค้าที่เปิดขาย
กด ค้นหา
รายละเอียดในเอกสาร
ชื่อสินค้า
ประเภทสินค้า ระบุ ประเภทของสินค้าที่ต้องการสร้าง
รหัส ระบุ รหัสสินค้า
💡 Nested Tip: หากเลือกใช้รูปแบบรหัสของ Nested ระบบจะสร้างรหัสให้อัตโนมัติ (ตั้งค่าสินค้า)
ชื่อ ระบุ ชื่อของสินค้า
คำอธิบาย ระบุ คำอธิบายของสินค้า
ประเภท เลือกประเภทของสินค้า ได้แก่ สินค้า, บริการ, สินค้าจัดเป็นชุด
ภาพสินค้า อัพโหลดภาพของสินค้า (ถ้ามี)
ใช้ระบบคลังสินค้า เลือก กรณีประเภท คือ สินค้า เพื่อระบุวิธีคำนวณต้นทุนสินค้า
สำหรับซื้อ เลือก กรณีต้องการตั้งค่าGL สำหรับซื้อ
เปิดขาย เลือก กรณีต้องการตั้งค่าGL สำหรับขาย
ตั้งค่า SKU เลือก กรณีต้องการตั้งค่ารหัสสินค้า SKU
อายุการใช้งาน เลือก กรณีสินค้ามีอายุการใช้งาน ระบุ -ปี -เดือน -วัน -ช.ม.
ช่วงระยะเวลาที่สินค้ามีคุณภาพให้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ยังไม่หมดอายุ
บาร์โค้ด ระบุรหัสของบาร์โค้ด ตามที่ตั้งค่าสินค้า
วิธีคำนวณต้นทุนสินค้า ระบุ วิธีคำนวณต้นทุนสินค้า
การตั้งค่า SKU
ตั้งค่า SKU (Stock Keeping Unit) คือการแบ่งย่อยสินค้าด้วย ขนาด, สี, น้ำหนัก, รสชาต, ยี่ห้อ เป็นต้นจะใช้กับสินค้าชนิดเดียวกันที่มี สี ขนาด รูปแบบ ฯลฯ แตกต่างกัน หากเลือกให้ระบบช่วยกำหนดรหัสสินค้าให้เป็นระบบ SKU ปัญหาการเพิ่มลำดับถัดไปของรหัสสินค้าจะหมดไป
ในบางธุรกิจ สามารถใช้ SKU ในการบริหารล็อตการผลิตเพื่อช่วยในการต่องานของลูกค้าได้ง่ายยิ่งขึ้น เช่น ธุรกิจทอผ้า ธุรกิจผลิตกระเบื้อง ที่แต่ละล็อตอาจมีเฉดสีที่ต่างกันเล็กน้อย
วิธีการคำนวนต้นทุนสินค้า
เข้าก่อน-ออกก่อน (First In First Out: FIFO)
เป็นรูปแบบการใช้สมมติฐานทางต้นทุน (Cost Assumption) รูปแบบหนึ่ง โดยใช้แนวคิดว่าสินค้าที่เข้าคลังสินค้ามาก่อนแล้วต้องรีบหมุนเวียนสินค้า ทำการขายหรือถ่ายสินค้าออกไปก่อน เพื่อลดความเสื่อมของสินค้าจนขายสินค้านั้นไม่ได้ โดยไม่สำคัญว่าสินค้าจริงจะถูกนำออกตามลำดับนั้นหรือไม่ จากนิยามดังกล่าว การคำนวณจากราคาทุนของสินค้าที่มีไว้เพื่อขาย มูลค่าของสินค้าที่ถูกจัดซื้อก่อน การใช้วิธีแบบนี้จะทำให้การขายในปัจจุบันนั้นถูกจับคู่กับราคาต้นทุนในอดีต ซึ่งหากใช้กับสินค้าที่มีแนวโน้มราคาแน่นอน จะทำให้งบการเงินสะท้อนกำไรขั้นต้นที่ไม่ถูกต้องนัก
ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Average Cost)
คือ วิธีการคำนวณที่ต้นทุนสินค้าจะถูกนำมาเฉลี่ยและแสดงต้นทุนโดยรวมของสินค้าที่ผลิตขึ้นได้ ข้อจำกัดของการใช้วิธีถัวเฉลี่ยหากมีการใช้วัตถุดิบมีมูลค่าสูงหรือมีลักษณะเฉพาะวิธีนี้จะไม่ค่อยเหมาะสม
เฉพาะเจาะจง (Specific Identification)
วิธีนี้จะสอดคล้องกับระบบการบันทึกบัญชีแบบต่อเนื่อง เพราะสินค้าแต่ละชิ้นจะมีมูลค่าเป็นของตัวเอง เมื่อมีรายการซื้อหรือรายการขายสินค้าจะบันทึกจำนวนของสินค้าชิ้นนั้น ดังนั้นวิธีนี้จึงเหมาะกับสินค้าที่มีลักษณะเฉพาะ ราคาสูง ไม่สามารถสับเปลี่ยนได้ ต้นทุนแต่ละชิ้นจะแตกต่างกัน และจำนวนครั้งของการขายมีจำนวนไม่บ่อยมากนัก เช่น เครื่องเพชร เป็นต้น
ตัวแปร SKU
คำนำหน้า ระบุ ประเภทของสินค้าที่ต้องการจำแนก เช่น ไซร์ / สี
Input Type เลือก กรณีสินค้า มีตัวเลือก เช่น ไซร์ / สี พิมพ์ค่า หากต้องการ พิมพ์ข้อความ
ตัวเลือก กรณี Input Type ระบุ เลือก รายการตัวเลือกให้ ระบุตัวเลือก เช่น Black, Brown ใช้ลูกน้ำเป็นตัวขั้นข้อมูล
SKU
SKU No. ระบุ รหัสสินค้า หากเลือกใช้รูปแบบรหัสของ Nested ระบบจะสร้างรหัสให้อัตโนมัติ (ตั้งค่าสินค้า)
ชื่อ SKU ค่าเริ่มต้นตามชื่อสินค้า ลูกค้าสามารถแก้ไขเพิ่มได้
หัวข้อคอลัมน์ขึ้นอยู่กับคำนำหน้า [ตัวแปรSKU] กรณีเป็นตัวเลือก ระบบจะแสดงรายการดรอปดาวน์ กรณีเลือก พิมพ์ค่า จำเป็นต้องพิมพ์ข้อความเอง
สำหรับซื้อ
GL สำหรับซื้อ ระบุ รหัสบัญชี สำหรับซื้อ สามารถสร้าง ผังบัญชีได้หากต้องการ
เปิดขาย
GL สำหรับขาย ระบุ รหัสบัญชี สำหรับขาย สามารถสร้าง ผังบัญชีได้หากต้องการ
หน่วยนับ
ยูนิต ระบุหน่วยนับของสินค้า
ปริมาณ แสดงค่าเริ่มต้น 1 เสมอ
ปริมาณ แสดงค่าเริ่มต้น 1
ใช้สำหรับเทียบบัญญัติไตรยาง ของสินค้า เช่น บรรทัดที่ 1 ; ตัว 1 = 1 ตัว บรรทัดที่ 2 ; แพ็ค 1 = 3 ตัว
คำอธิบาย ระบุคำอธิบาย ถ้ามี
ค่าเริ่มต้น กรุณาระบุ ค่าเริ่มต้นเพียงหน่วยนับแรกรายการเดียว
การกำหนดวิธีการแปลงหน่วยนับ
หน่วยนับของสินค้าแบบเดียวกันอาจมีได้มากกว่าหนึ่งหน่วยนับ เช่น กรณีกิจการซื้อสินค้ามาเป็นหน่วยใหญ่แล้วนำมาขายเป็นหน่วยย่อย กรณีเช่นนี้กิจการต้องระบุหน่วยนับทั้งหมดของสินค้าให้ในระบบ เพื่อให้ระบบสามารถคำนวณราคาได้ เมื่อเลือกขายสินค้าเป็นหน่วยนับที่ต่างจากตอนซื้อ
ในตารางด้านบน หมายความว่า หน่วยพื้นฐานของสินค้าคือ ตัว โดยเมื่อเปิดเอกสารของสินค้ารหัสนี้ หน่วยที่จะแสดงให้ทันทีคือ ตัว
ในกรณีที่หน่วยถูกเปลี่ยนเป็น 1 แพ็ค ระบบจะตัด stock ออกให้ 3 ตัว โดยอัตโนมัติ
อื่น
ระงับการใช้งาน ในกรณีที่หน่วยถูกเปลี่ยนเป็น 1 แพ็ค ระบบจะตัด stock ออกให้ 3 ตัว โดยอัตโนมัติ
หมายเหตุ ระบุหมายเหตุทั่วไป (ถ้ามี)
อัปเดตเมื่อ: 20/10/2023