บทความเกี่ยวกับ: FAQ คำถามที่พบบ่อย

FAQ | การปัดเศษทศนิยมของภาษีมูลค่าเพิ่ม

กรมสรรพากรได้กำหนดหลักในการปัดเศษทศนิยมในการคำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ มีเศษเป็นจุดทศนิยม ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนถือปฏิบัติดังนี้


(ก) ถ้าเศษของภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นจำนวนเงินตัวที่สามหลังจุดทศนิยม มีค่าไม่ถึง 5 ให้ปัดเศษนั้นทิ้ง ตัวอย่าง มูลค่าของสินค้าที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว คือ 100 บาท คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้เท่ากับ 7/107 x 100 = 6.542 บาท ดังนั้น จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่แสดงในใบกำกับภาษี คือ 6.54 บาท


(ข) ถ้าเศษของภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็นจำนวนเงินตัวที่สามหลังจุดทศนิยม มีค่าตั้งแต่ 5 ขึ้นไป ให้ปัดเศษขึ้น ตัวอย่าง มูลค่าของสินค้าที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไว้แล้ว คือ 180 บาท คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้เท่ากับ 7/107 x 180 = 11.775 บาท ดังนั้น จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่แสดงในใบกำกับภาษี คือ11.78 บาท


และกรมสรรพากรให้แนวปฏิบัติเอาไว้เกี่ยวกับกรณีที่เราได้รับใบกำกับภาษีซื้อที่มีการคำนวนยอดภาษีซื้อผิดเอาไว้ ดังนี้

  1. หากภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีซื้อที่ออกผิดมา มีมูลค่ามากกว่า จำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวนได้ ให้ใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มตามที่คำนวนได้
  2. หากภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีซื้อที่ออกผิดมา มีมูลค่าน้อยกว่า จำนวนเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวนได้ ให้ใช้ภาษีซื้อได้ตามใบกำกับภาษีซื้อเท่าที่ผู้ขายคำนวนผิดมา
  3. กรณีที่ได้รับใบกำกับภาษีที่มีการคำนวนภาษีผิดพลาดมากเกินกว่าจุดทศนิยม (ไม่ใช่การคำนวนผิดในหลักทศนิยม) กรณีนี้ไม่สามารถนำใบกำกับภาษีใบนี้มาใช้ได้


ภาคผนวก ****

https://www.rd.go.th/25395.html

https://www.rd.go.th/3568.html

อัปเดตเมื่อ: 13/12/2024