ภาษีหัก ณ ที่จ่าย Withholding Tax
ทำไมต้องมีใบภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย [WHT]
ย่อมาจาก Withholding Tax หรือใช้ในภาษาไทยว่า “ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย”
เป็นการจัดเก็บภาษีล่วงหน้ากำหนดให้ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่หักภาษีจากเงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับทุกครั้งที่จ่าย ซึ่งการหักภาษีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด หลังจากนั้นให้นำเงินส่งกรมสรรพากร
การคิดเงินเพิ่ม/เบี้ยปรับ กรณียื่น ภ.ง.ด.
กรณียื่นเพิ่มเติม
เงินเพิ่มคิดจาก ยอดภาษีที่ต้องชำระ x 1.5% x ระยะเวลา (เดือน) กรณี ภ.ง.ด. 1, 3, 50, 53
ถ้าเป็น ภ.ง.ด. 51 คิดจากยอดภาษีที่ต้องชำระ x 20%
กรณียื่นปกติ (เกินกำหนดเวลา)
เงินเพิ่ม คิดจาก ยอดภาษีที่ต้องชำระ x 1.5% x ระยะเวลา (เดือน)
ค่าปรับแบบ
กรณียื่นภายใน 7 วันหลังจากครบกำหนดยื่น (วันที่ 7)
- กรณี ภ.ง.ด. 1, 3, 53 แบบละ 100 บาท
- กรณี ภ.ง.ด. 50 หรือ 51 แบบละ 1,000 บาท
กรณีเกิน 7 วันขึ้นไป
- กรณี ภ.ง.ด. 1, 3, 53 แบบละ 200 บาท
- กรณี ภ.ง.ด. 50, 51 แบบละ 2,000 บาท
สิทธิ์การดำเนินการ
แก้ไข WHT
- เลือกเมนู บัญชี และ ภาษี
- กดแท็บ 2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- เลือกรายงาน WHT ที่ต้องการแก้ไข
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก แก้ไข
- ตรวจสอบความครบถ้วน และถูกต้องของเอกสาร
- กด บันทึก
ระบบจะแสดงรายการเอกสารยื่น WHT โดยอัตโนมัติทุกๆต้นเดือน เช่น ณ วันที่ 1 ม.ค. รายงานภาษี WHT ของเดือน ม.ค. จะถูกแสดงขึ้นมาโดยอัตโนมัติ💡 Nested Tip: ในกรณีที่ถูกล็อคงวดบัญชีแล้ว ต้องปลดล็อคงวดบัญชีก่อนจึงจะสามารถแก้ไขเอกสารได้💡 Nested Tip: ในกรณีที่เอกสารถูกล็อคใน รายงานกระทบยอดธนาคารแล้ว ต้องไปปลดล็อค ก่อนถึงจะสามารถแก้ไขเอกสารได้ 💡 Nested Tip: กรณีต้องการแก้ไขยอดภาษีหัก ณ ที่จ่าย ผู้ใช้จำเป็นต้องไปแก้ไขที่เอกสารแต่ละฉบับ ไม่สามารถแก้ไขจากตารางภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้ เนื่องจากตารางแสดงเสมือนรายงานเท่านั้น
ยื่นภาษี WHT
ขั้นตอนนี้เป็นเพียงขั้นตอนการเปลี่ยนสถานะรายงานจาก ยื่นภาษีแล้ว เป็น รอดำเนินการ โดยควรดำเนินการเมื่อทำการยื่นภาษีเสร็จแล้ว
- เลือกเมนู บัญชี และ ภาษี
- กดแท็บ 2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- เลือกรายงาน WHT ที่ต้องการยื่นภาษี
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก แก้ไข
- ตรวจสอบความครบถ้วน และถูกต้องของเอกสาร
- กด ฝั่งขวาของปุ่มบันทึก เลือก ยื่นภาษี
ถอยเอกสาร WHT
ขั้นตอนนี้เป็นเพียงขั้นตอนการเปลี่ยนสถานะรายงานจาก ยื่นภาษีแล้ว เป็น รอดำเนินการ โดยควรดำเนินการเมื่อยังทำการยื่นภาษีไม่แล้วเสร็จ
- เลือกเมนู บัญชี และ ภาษี
- กดแท็บ 2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- เลือกรายงาน VAT ที่ต้องการยื่นภาษี
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก แก้ไข
- กด ฝั่งขวาของปุ่มบันทึก เลือก ถอยเอกสาร
พิมพ์ ภ.ง.ด. 3/53
- เลือกเมนู บัญชี และ ภาษี
- กดแท็บ 2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- เลือกรายงาน WHT ที่ต้องการพิมพ์เอกสาร
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก แก้ไข
- กด ฝั่งขวาของปุ่มบันทึก เลือก พิมพ์ ภ.ง.ด. XX
ภาษีออนไลน์ ภ.ง.ด. 3/53
- เลือกเมนู บัญชี และ ภาษี
- กดแท็บ 2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- เลือกรายงาน WHT ที่ต้องการพิมพ์เอกสาร
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก แก้ไข
- กด ฝั่งขวาของปุ่มบันทึก เลือก ภาษีออนไลน์ ภ.ง.ด. XX
พิมพ์ GL
- เลือกเมนู บัญชี __และ __ภาษี
- กดแท็บ 2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- เลือกรายงาน WHT ที่ต้องการพิมพ์เอกสาร
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก พิมพ์ GL
ยื่นเพิ่มเติม
ขั้นตอนนี้ควรจะทำเฉพาะในกรณีที่พบว่าบันทึกรายการไม่ครบ เพราะจะมี เบี้ยปรับเงินเพิ่ม ตามระยะเวลาที่ยื่นล่าช้า
- เลือกเมนู บัญชี และ ภาษี
- กดแท็บ 2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- เลือกรายงาน VAT ที่ต้องการยื่นภาษีเพิ่มเติม
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก ยื่นเพิ่มเติม
- ตรวจดูความครบถ้วนของเอกสาร
- กด บันทึก
รายละเอียดในเอกสาร
หัวเอกสาร
- วันที่ ตั้งค่าเริ่มต้นทุกสิ้นเดือนภาษี ผู้ใช้สามารถแก้ไขได้
- บริษัท ตั้งค่าเริ่มต้นตามบริษัท
- เดือน ตั้งค่าเริ่มต้นตามเดือนภาษี
- บันทึกบัญชี เลือก หากต้องการบันทึกบัญชีทำจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภ.ง.ด. 1
- วันที่ วันที่เอกสารของภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- WHT No. เลขที่เอกสารของภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- ชื่อ ชื่อของผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
- มูลค่าบริการ ตั้งค่าเริ่มต้นตามเอกสาร
- WHT ตั้งค่าเริ่มต้นตามเอกสาร
- หมายเหตุ
ภ.ง.ด. 3
- วันที่ วันที่เอกสารของภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- WHT No. เลขที่เอกสารของภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- ชื่อ ชื่อของผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
- สาขา เลขที่สาขาของผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
- คำอธิบาย ตั้งค่าเริ่มต้นตามเอกสาร
- มูลค่าบริการ ตั้งค่าเริ่มต้นตามเอกสาร
- % ตั้งค่าเริ่มต้นตามเอกสาร
- WHT ตั้งค่าเริ่มต้นตามเอกสาร
- หมายเหตุ
ภ.ง.ด. 53
- วันที่ วันที่เอกสารของภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- WHT No. เลขที่เอกสารของภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- ชื่อ ชื่อของผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
- สาขา เลขที่สาขาของผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
- คำอธิบาย ตั้งค่าเริ่มต้นตามเอกสาร
- มูลค่าบริการ ตั้งค่าเริ่มต้นตามเอกสาร
- % ตั้งค่าเริ่มต้นตามเอกสาร
- WHT ตั้งค่าเริ่มต้นตามเอกสาร
- หมายเหตุ
ภ.ง.ด. 2
- วันที่ วันที่เอกสารของภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- WHT No. เลขที่เอกสารของภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- ชื่อ ชื่อของผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
- สาขา เลขที่สาขาของผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
- คำอธิบาย ตั้งค่าเริ่มต้นตามเอกสาร
- มูลค่าบริการ ตั้งค่าเริ่มต้นตามเอกสาร
- % ตั้งค่าเริ่มต้นตามเอกสาร
- WHT ตั้งค่าเริ่มต้นตามเอกสาร
- หมายเหตุ
ภ.ง.ด. 54
- วันที่ วันที่เอกสารของภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- WHT No. เลขที่เอกสารของภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- ชื่อ ชื่อของผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
- สาขา เลขที่สาขาของผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย
- คำอธิบาย ตั้งค่าเริ่มต้นตามเอกสาร
- มูลค่าบริการ ตั้งค่าเริ่มต้นตามเอกสาร
- % ตั้งค่าเริ่มต้นตามเอกสาร
- WHT ตั้งค่าเริ่มต้นตามเอกสาร
- หมายเหตุ
ตารางชำระเงิน
- วันที่ Statement วันที่ตัดชำระเงินออกจากบัญชีธนาคาร
- ชำระโดย เลขที่บัญชีธนาคาร
- เลขที่เช็ค ระบุเลขที่เช็ค ในกรณีชำระเงินด้วยเช็ค
- ยอดเช็ค จำนวนเงินบนเช็ค
- ยอดคงเหลือ จำนวนเงินคงเหลือในเช็ค
- วันที่เช็ค วันที่บนเช็ค
- หมายเหตุ
- ค่าธรรมเนียมธนาคาร ระบุค่าธรรมเนียมธนาคาร (ถ้ามี)
- รวม ยอดชำระเงินจากบัญชีธนาคาร
ตารางบันทึกบัญชี GL
- รหัสบัญชี ผังบัญชีที่ถูกผูกกับรหัสสินค้า และคู่ค้าที่เลือก
- เดบิต ยอดฝั่งเดบิต
- เครดิต ยอดฝั่งเครดิต
- CC Cost Center
- หมายเหตุ
ท้ายเอกสาร
- หมายเหตุ[ภายใน] คำอธิบาย หรือข้อมูลเพิ่มเติม
- เอกสารแนบ แนบเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบหลักฐานการชำระเงิน
E-Withholding Tax
เป็นการให้ธนาคารที่ผู้ประกอบการใช้ในการโอนเงิน เป็นผู้หัก ณ ที่จ่ายและนำส่งกรมสรรพากร แทนผู้ประกอบการ ทำให้ผู้ที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายสามารถตรวจสอบการนำส่งได้โดยตรงจากทาง website กรมสรรพากร แทนที่จะดูหลักฐานทางกระดาษ
การเปลี่ยนมาใช้ e-Withholding Tax
มุมผู้ประกอบการ
- ลดขั้นตอนการหัก ณ ที่จ่ายทั้งหมด เพราะธนาคารที่เราใช้ชำระเงินจะเป็นผู้ดำเนินการแทน
- ไม่ต้องพิมพ์ และจัดส่ง หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) ให้ทางคู่ค้า
- ไม่ต้องยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่าย อีกต่อไป
- ไม่ต้องจัดเก็บหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) ในรูปแบบกระดาษ
มุมคู่ค้า
- ภาษีหัก ณ ที่จ่ายลดจาก 3% เป็น 2% ถึง 31/12/65
- ไม่ต้องติดตาม เอกสารภาษีหัก ณ ที่จ่ายจากลูกค้า โดยสามารถตรวจสอบทางออนไลน์ได้ตลอดเวลา
- ไม่ต้องจัดเก็บหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ใบ 50 ทวิ) ในรูปแบบกระดาษ
ขั้นตอนการเปลี่ยนมาใช้ e-Withholding Tax
- สมัคร E-Withholding Tax กับธนาคาร
- แจ้งคู่ค้าให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลง
สมัคร e-Withholding Tax กับ SCB
- สมัครขอรับบริการจากธนาคาร ไทยพาณิชย์ Business Net
- Upload ไฟล์ขึ้นระบบ SCB BusinessNet
- ธนาคารจะทำหน้าที่ หัก ณ ที่จ่าย และนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- ตรวจสอบข้อมูลการหัก ณ ที่จ่ายได้ที่ www.rd.go.th โดยใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีและ Password เดียวกับของระบบ e-Filing ได้เลย (ไม่จำเป็นต้องสมัครบริการเพิ่มเติม)
อัปเดตเมื่อ: 27/11/2021