ภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT
ทำไมต้องมีภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม [VAT]
ย่อมาจาก Value Added Tax หรือใช้ในภาษาไทยว่า “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” เป็นภาษีที่ถูกบวกเพิ่มเข้าไปในราคาของสินค้าหรือบริการโดยมีลักษณะเป็นภาษีทางอ้อม ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการเป็นผู้รับภาระเสียภาษี โดยกิจการมีหน้าที่จัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม ยื่นแบบ และนำส่งภาษีให้กรมสรรพากรภายในระยะเวลาที่กำหนด
VAT จึงมีลักษณะเป็นหนี้สินที่กิจการจะต้องเรียกเก็บไว้รอนำส่ง ไม่ใช่ “รายได้” ที่เพิ่มขึ้นของกิจการ ซึ่งหากมีการบริหารจัดการภาษีซื้อและภาษีขายอย่างระมัดระวัง กิจการจะสามารถลดรายจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนำส่งภาครัฐได้อย่างสมเหตุสมผล
อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
ปัจจุบันภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีอยู่ 3 อัตรา ได้แก่
- VAT 7% ตามพระราชกฤษฎีกา ใช้กับประเภทธุรกิจทั่วไป เช่น พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และบริการ เป็นต้น
- VAT 0% สำหรับธุรกิจประเภทที่ต้องเสียภาษีอากรซ้ำซ้อน เช่น ภาษีศุลกากร เป็นต้น ประกอบด้วยธุรกิจดังต่อไปนี้
- การส่งออกสินค้า และการขนส่งระหว่างประเทศ
- การให้บริการข้ามประเทศ
- การขายสินค้า/บริการแก่ภาครัฐ
- การขายสินค้า/บริการระหว่างคลังสินค้าทัณฑ์บน
- VAT ยกเว้น คือ การยกเว้นภาษี ประกอบไปด้วย ประเภทธุรกิจที่ได้รับอนุญาตไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแม้รายได้รวมต่อปีจะเกิน 1.8 ล้านบาท ก็ตาม เช่น
- การเกษตรกรรมและการปศุสัตว์
- การขนส่ง
- การให้เช่าอสังหาริมทรัพย์
- การจำหน่ายสื่อสิ่งพิมพ์
- การขายสินค้า/บริการแก่องค์กรที่มีลักษณะได้รับการยกเว้น
อนึ่ง ภาษี 0% และภาษีที่ได้รับการยกเว้นอาจจะมีลักษณะคล้ายกันอยู่บ้าง แต่การจดทะเบียนอัตราภาษีร้อยละ 0 กิจการจะสามารถขอคืนภาษีซื้อได้ทั้งหมด ในขณะที่อัตราภาษีได้รับการยกเว้นไม่สามารถทำได้เพราะเสมือนหนึ่งเป็นผู้บริโภคคนสุดท้ายที่ต้องรับภาระภาษีไปเต็มจำนวน
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม VAT
ใบกำกับภาษีขายจะต้องยื่น VAT ให้ตรงกับเดือนในเอกสารเท่านั้น
ในขณะที่ใบกำกับภาษีซื้อสามารถนำ VAT มาใช้ย้อนหลังได้ไม่เกิน 6 เดือน
หากพบว่ามีเอกสารใบกำกับภาษีขายตกหล่นไม่ได้ยื่น VAT จะต้องรีบยื่นเพิ่มเติมทันที มิฉะนั้นกิจการจะมี เบี้ยปรับเงินเพิ่ม ที่วิ่งตามระยะเวลาที่ล่าช้าอย่างมหาศาล
วิธีการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม
เงินเพิ่ม เกิดจากการที่ยื่นแบบล่าช้ากว่ากำหนด โดยคำนวณเงินเพิ่ม 1.5% จากภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระต่อเดือน
เบี้ยปรับ เกิดจากการยื่นแบบที่มีข้อมูลไม่ถูกต้อง โดยคำนวณเบี้ยปรับเป็นขั้นบันได ดังนี้
ตารางการคำนวณเบี้ยปรับ
ตัวอย่างการคำนวณ
กิจการแห่งหนึ่งได้ยื่นแบบภาษี ภ.พ.30 ในเดือนที่ผ่านมาเรียบร้อย แต่วันที่ 27 ของเดือนถัดมา พบว่ามีใบกำกับภาษีขายอยู่ส่วนหนึ่งตกหล่นไม่ได้ยื่นภาษี กิจการต้อง ยื่นเพิ่มเติมและคำนวณเบี้ยปรับเงินเพิ่ม ดังนี้
วิธีนับใบกำกับภาษีซื้อใช้ได้ 6 เดือน
ตัวอย่างเช่น ใบกำกับภาษีลงวันที่ 15/07/2564 > นับเดือน ส.ค. เดือนที่ 1 จากนั้น 2 ก.ย., 3 ต.ค., 4 พ.ย., 5 ธ.ค. , 6 ม.ค.2565 หมายความว่าใบกำกับภาษีใบนี้สามารถใช้ยื่นแบบภ.พ. 30 ในภาษีเดือน มกราคม 2565 เป็นเดือนสุดท้าย
สิทธิ์การดำเนินการ
แก้ไข รายงาน VAT
- เลือกเมนู บัญชี และ ภาษี
- กดแท็บ 1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- เลือกรายงาน VAT ที่ต้องการแก้ไข
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก แก้ไข
- ตรวจสอบความครบถ้วน และถูกต้องของเอกสาร
- กด บันทึก
- ในกรณีที่ถูกล็อคงวดบัญชีแล้ว ต้องปลดล็อคงวดบัญชีก่อนจึงจะสามารถแก้ไขเอกสารได้
- ในกรณีที่เอกสารถูกล็อคใน รายงานกระทบยอดธนาคารแล้ว ต้องไปปลดล็อค ก่อนถึงจะสามารถแก้ไขเอกสารได้ ยกเว้นในกรณีที่ต้องการแก้ไขการลงบัญชี สามารถแก้ไขได้โดยกำหนดสิทธิ์ให้สามารถแก้ไขการลงบัญชีได้
ยื่นภาษี VAT
ขั้นตอนนี้เป็นเพียงขั้นตอนการเปลี่ยนสถานะรายงานจาก ยื่นภาษีแล้ว เป็น รอดำเนินการ โดยควรดำเนินการเมื่อทำการยื่นภาษีเสร็จแล้ว
- เลือกเมนู บัญชี และ ภาษี
- กดแท็บ 1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- เลือกรายงาน VAT ที่ต้องการยื่นภาษี
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก แก้ไข
- ตรวจสอบความครบถ้วน และถูกต้องของเอกสาร
- กด ฝั่งขวาของปุ่มบันทึก เลือก ยื่นภาษี
ถอยเอกสาร
ขั้นตอนนี้เป็นเพียงขั้นตอนการเปลี่ยนสถานะรายงานจาก ยื่นภาษีแล้ว เป็น รอดำเนินการ โดยควรดำเนินการเมื่อยังทำการยื่นภาษีไม่แล้วเสร็จ
- เลือกเมนู บัญชี และ ภาษี
- กดแท็บ 1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- เลือกรายงาน VAT ที่ต้องการยื่นภาษี
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก แก้ไข
- กด ฝั่งขวาของปุ่มบันทึก เลือก ถอยเอกสาร
พิมพ์รายงานภาษีขาย
- เลือกเมนู บัญชี และ ภาษี
- กดแท็บ 1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- เลือกรายงาน VAT ที่ต้องการพิมพ์เอกสาร
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก แก้ไข
- กด ฝั่งขวาของปุ่มบันทึก เลือก พิมพ์รายงานภาษีขาย
พิมพ์รายงานภาษีซื้อ
- เลือกเมนู บัญชี และ ภาษี
- กดแท็บ 1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- เลือกรายงาน VAT ที่ต้องการพิมพ์เอกสาร
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก แก้ไข
- กด ฝั่งขวาของปุ่มบันทึก เลือก พิมพ์รายงานภาษีซื้อ
พิมพ์ ภ.พ. 30
- เลือกเมนู บัญชี และ ภาษี
- กดแท็บ 1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- เลือกรายงาน VAT ที่ต้องการพิมพ์เอกสาร
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก แก้ไข
- กด ฝั่งขวาของปุ่มบันทึก เลือก พิมพ์ ภ.พ.30
พิมพ์ GL
- เลือกเมนู บัญชี และ ภาษี
- กดแท็บ 1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- เลือกรายงาน VAT ที่ต้องการพิมพ์เอกสาร
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก พิมพ์ GL
ยื่นเพิ่มเติม
ขั้นตอนนี้ควรจะทำเฉพาะในกรณีที่พบว่าบันทึกรายการไม่ครบ เพราะจะมี เบี้ยปรับเงินเพิ่ม ตามระยะเวลาที่ยื่นล่าช้า
- เลือกเมนู บัญชี และ ภาษี
- กดแท็บ 1. ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- เลือกรายงาน VAT ที่ต้องการยื่นภาษีเพิ่มเติม
- กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก ยื่นเพิ่มเติม
- ตรวจดูความครบถ้วนของเอกสาร
- กด บันทึก
รายละเอียดในเอกสาร
หัวเอกสาร
- วันที่ ตั้งค่าเริ่มต้นทุกสิ้นเดือนภาษี
- สาขา ตั้งค่าเริ่มต้นตามบริษัทที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม อ้างอิงตั้งค่าบัญชี
- เดือน ตั้งค่าเริ่มต้นตามเดือนภาษี
- บันทึกบัญชี เลือก หากต้องการบันทึกบัญชีปิดภาษีซื้อ-ขาย
ตารางภาษีขาย
- วันที่ วันที่เอกสาร
- เลขที่เอกสาร เลขที่เอกสาร
- วันที่ใบกำกับ วันที่บนใบกำกับภาษี
- Vat No. เลขที่เอกสารภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ลูกค้า ชื่อลูกค้า
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก
- สาขา เลขที่สาขา ในกรณีที่ใส่เลขไม่ถูกต้องหรือไม่ครบ???
- ยอดขาย ยอดขายของเอกสาร
- 0% ยอดภาษี 0%
- ยกเว้น ยอดภาษียกเว้น
- ฐานภาษี มูลค่าฐานภาษี
- VAT 7% ยอดภาษี 7%
- หมายเหตุ คำอธิบาย หรือข้อมูลเพิ่มเติม
ตารางภาษีซื้อ | เดือนนี้
- วันที่ วันที่เอกสาร
- เลขที่เอกสาร เลขที่เอกสาร
- วันที่ใบกำกับ วันที่บนใบกำกับภาษี
- VAT No. เลขที่เอกสารภาษีมูลค่าเพิ่ม
- คู่ค้า ชื่อคู่ค้า
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก
- สาขา เลขที่สาขา ในกรณีที่ใส่เลขไม่ถูกต้องหรือไม่ครบ???
- ยอดเงิน ยอดซื้อของเอกสาร
- VAT ยอดภาษี 7%
- หมายเหตุ คำอธิบาย หรือข้อมูลเพิ่มเติม
ตารางภาษีซื้อ | เดือนถัดไป
- วันที่ วันที่เอกสาร
- เลขที่เอกสาร เลขที่เอกสาร
- วันที่ใบกำกับ วันที่บนใบกำกับภาษี
- VAT No. เลขที่เอกสารภาษีมูลค่าเพิ่ม
- คู่ค้า ชื่อคู่ค้า
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก
- สาขา เลขที่สาขา ในกรณีที่ใส่เลขไม่ถูกต้องหรือไม่ครบ???
- ยอดเงิน ยอดซื้อของเอกสาร
- VAT ยอดภาษี 7%
- หมายเหตุ คำอธิบาย หรือข้อมูลเพิ่มเติม
ตารางภาษีซื้อ | เกิน 6 เดือน
- วันที่ วันที่เอกสาร
- เลขที่เอกสาร เลขที่เอกสาร
- วันที่ใบกำกับ วันที่บนใบกำกับภาษี
- VAT No. เลขที่เอกสารภาษีมูลค่าเพิ่ม
- คู่ค้า ชื่อคู่ค้า
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก
- สาขา เลขที่สาขา ในกรณีที่ใส่เลขไม่ถูกต้องหรือไม่ครบ???
- ยอดเงิน ยอดซื้อของเอกสาร
- VAT ยอดภาษี 7%
- หมายเหตุ คำอธิบาย หรือข้อมูลเพิ่มเติม
ตารางชำระเงิน
- วันที่ Statement วันที่ตัดชำระเงินออกจากบัญชีธนาคาร
- ชำระโดย เลขที่บัญชีธนาคาร
- เลขที่เช็ค ระบุเลขที่เช็ค ในกรณีชำระเงินด้วยเช็ค
- ยอดเช็ค จำนวนเงินบนเช็ค
- ยอดคงเหลือ จำนวนเงินคงเหลือในเช็ค
- วันที่เช็ค วันที่บนเช็ค
- หมายเหตุ
- ค่าธรรมเนียมธนาคาร ระบุค่าธรรมเนียมธนาคาร (ถ้ามี)
- รวม ยอดชำระเงินจากบัญชีธนาคาร
ตารางบันทึกบัญชี GL
- รหัสบัญชี ผังบัญชีที่ถูกผูกกับรหัสสินค้า และคู่ค้าที่เลือก
- เดบิต ยอดฝั่งเดบิต
- เครดิต ยอดฝั่งเครดิต
- CC Cost Center
- หมายเหตุ
ท้ายเอกสาร
- หมายเหตุ[คู่ค้า] คำอธิบาย หรือข้อมูลเพิ่มเติมที่ต้องการแจ้งให้คู่ค้าทราบ โดยจะปรากฏอยู่บนเอกสารที่พิมพ์ออกมา
- หมายเหตุ[ภายใน] คำอธิบาย หรือข้อมูลเพิ่มเติม
- เอกสารแนบ แนบเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบ Payment Advice จากธนาคาร และ ใบเสร็จรับเงินจากคู่ค้า
การเชื่อมโยง
เอกสารในขั้นตอนนี้จะเชื่อมโยงต่อไปยัง
- Dashboard : กระแสเงินสด
- งบทดลอง
- สมุดรายวันจ่าย
- งบพิสูจน์ยอดเงินฝาก
อัปเดตเมื่อ: 27/11/2021