ใบวางบิล Billing (BI)
ทำไมต้องมีใบวางบิล (BI)
เพื่อใช้ในการแจ้งยอดหนี้รวมของช่วงระยะเวลานั้นๆ เช่น ใบวางบิล 1 ใบ อาจประกอบไปด้วยใบแจ้งหนี้ 5 ใบ เป็นต้น ตามรอบการวางบิลที่ตกลงกันไว้
บริษัทขนาดกลางและใหญ่จะใช้วันที่รับวางบิลเป็นวันที่เริ่มนับจำนวนวันเครดิตในการชำระเงิน
สิทธิ์การดำเนินการ
สร้าง ใบวางบิล (BI)
เลือกเมนู ขาย และ ขาย
กดแท็บ 3. ใบแจ้งหนี้
กดปุ่ม สร้างใบวางบิล (BI)
กรอกรายละเอียดต่างๆให้ครบ
กด บันทึก
แก้ไข ใบวางบิล (BI)
เลือกเมนู ขาย และ ขาย
กดแท็บ 3. ใบแจ้งหนี้
เลือกใบวางบิล (BI) ที่ต้องการแก้ไข
กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก แก้ไข
แก้ไขข้อมูลตามที่ต้องการ
กด บันทึก
พิมพ์ ใบวางบิล (BI)
เลือกเมนู ขาย และ ขาย
กดแท็บ 3. ใบแจ้งหนี้
เลือกใบวางบิล (BI) ที่ต้องการพิมพ์
กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก พิมพ์
ยกเลิก ใบวางบิล (BI)
เลือกเมนู ขาย และ ขาย
กดแท็บ 3. ใบแจ้งหนี้
เลือกใบวางบิล (BI) ที่ต้องการยกเลิก
กดปุ่มดำเนินการ ' ... ' เลือก แก้ไข
กด ฝั่งขวาของปุ่มบันทึก เลือก ยกเลิก
รายละเอียดในเอกสาร
หัวเอกสาร
วันที่ ตั้งค่าเริ่มต้นเป็นวันนี้ ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนได้
บริษัท/สาขา เลือกบริษัทและสาขาที่ต้องการออกใบวางบิล
ลูกค้า เลือกชื่อลูกค้าที่ต้องการออกใบวางบิล
คำอธิบาย ระบุรายละเอียดของงาน เพื่อให้ง่ายต่อการกลับมาค้นหาเอกสารในอนาคต
ตารางรายการ
เลขที่เอกสาร เลขที่ใบแจ้งหนี้ (IV/IS), ใบเพิ่มหนี้ DN, ใบลดหนี้ CN จะแสดงขึ้นมาอัตโนมัติเมื่อเลือกชื่อลูกค้า
พนักงานขาย ชื่อพนักงานขายจะแสดงขึ้นมาอัตโนมัติ
SO เลขที่ใบสั่งขายจะแสดงขึ้นมาอัตโนมัติ
ครบกำหนด วันที่ครบกำหนดชำระเงิน จะแสดงขึ้นมาอัตโนมัติ
รวม ราคารวม จะแสดงขึ้นมาอัตโนมัติ
Ret. ยอดเงินถูกหักประกันผลงาน จะแสดงขึ้นมาอัตโนมัติ
ชำระเงิน ยอดที่ต้องชำระเงิน จะแสดงขึ้นมาอัตโนมัติ
ท้ายเอกสาร
หมายเหตุ [ลูกค้า] คำอธิบาย หรือข้อมูลเพิ่มเติมที่ต้องการแจ้งให้ลูกค้าทราบ โดยจะปรากฏอยู่บนใบสั่งซื้อที่พิมพ์ออกมา
หมายเหตุ [ภายใน] คำอธิบาย หรือข้อมูลเพิ่มเติม โดยจะไม่ปรากฏอยู่บนใบสั่งซื้อที่พิมพ์ออกมา
เอกสารแนบ แนบเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้อง เช่น ใบแจ้งหนี้ ใบส่งสินค้า
อัปเดตเมื่อ: 27/11/2021